ติมอร์-เลสเต

ติมอร์-เลสเต

วันที่นำเข้าข้อมูล 23 เม.ย. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 4,018 view

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต

 

ข้อมูลทั่วไป

ความเป็นมา :

- 7 ส.ค. 2546 รมว.กต. ทั้งสองฝ่ายร่วมลงนามใน MOU และเริ่มจัดทำแผนการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเพื่อช่วยติมอร์ฯ ฟื้นฟูและพัฒนาประเทศหลักได้รับเอกราช โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งสนับสนุนการเผยแพรหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- เดือน พ.ค. 2549 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในติมอร์ฯ จึงได้ชะลอความร่วมมือ.   ทวิภาคีระหว่างกัน

- เดือน เม.ย. 2552 ได้มีการฟื้นฟูความร่วมมือระหว่างกัน โดยจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ปัจจุบันอยู่

ระหว่างจัดทำแผนฯ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2564 – 2566)

ความตกลง    มี

สาขาความร่วมมือ 5 สาขา

แผนงานความร่วมมือฯ ระยะ 3 ปี (2564-2566) ซึ่งอยู่ระหว่างรอนำเข้าที่ประชุมวิชาการเพื่อให้ความเห็นชอบ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กระทรวงการต่างประเทศติมอร์ฯ

กลไกความร่วมมือ : การประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย โดยจะมีการประชุมทุก ๆ 18 เดือน ครั้งล่าสุด ครั้งที่ 3 วันที่ 26 – 28 ก.ย. 2559 การประชุมฯ ครั้งถัดไป คือครั้งที้ 4 มีกำหนดจัดในปี 2563 ฝ่ายติมอร์ฯ เป็นเจ้าภาพ แต่เนื่องจากสถานการณ์ฯ โควิด-19 จึงเลื่อนออกไปก่อน (ส่วนในปี 2560 – 2561 ติมอร์อยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล รมว.กต.ติมอร์ฯ จึงขอชะลอความร่วมมือออกไปก่อน)

รูปแบบความร่วมมือ

          1) โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

          2) ทุนการศึกษา/ฝึกอบรมดูงาน 

          3) การส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปปฏิบัติงาน

          4) การส่งอาสาสมัครเพื่อนไทย

          5) การมอบวัสดุอุปกรณ์

          6) หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (AITC)

          7) หลักสูตรศึกษาปริญญาโทนานาชาติ (TIPP)

 

ความร่วมมือทางวิชาการในปัจจุบัน (สถานะ เดือนพฤศจิกายน 2563)

          1. ความร่วมมือทวิภาคี

          รัฐบาลไทยเริ่มให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่ติมอร์-เลสเต ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003)

          - เมื่อวันที่ 7 ส.ค. 2546 รมว.กต.ของทั้งสองฝ่ายได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (MOU on Economic and Technical Cooperation) จากนั้นได้จัดทำแผนงานการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระยะ 3 ปี (ปี พ.ศ. 2546-2548) เพื่อช่วยเหลือติมอร์ฯ ในกระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศหลังจากได้รับเอกราช โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสาขาต่างๆ เช่น เกษตร สาธารณสุข ประมง การค้า/การลงทุน การธนาคาร/การประกันภัย การท่องเที่ยว การรักษา ความมั่นคงปลอดภัยภายในประเทศ พลังงาน และการใช้เทคโนโลยีภูมิศาสตร์สารสนเทศ รวมทั้งสนับสนุนมูลนิธิสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ในการเผยแพร่หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจนถึงเดือน พ.ค. 2549 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในติมอร์ฯ ทั้งสองฝ่ายจึงได้ชะลอความร่วมมือทวิภาคีระหว่างกัน

          - ต่อมาเมื่อเดือน เม.ย. 2552 กรมความร่วมมือฯ นำคณะผู้แทนไทยจาก ก.เกษตรฯ ก.สาธารณสุข และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เดินทางไปพบหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของติมอร์ฯ เพื่อจัดทำแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาฯ 3 ปี ระยะที่ 2 (ปี พ.ศ. 2553-2555) และได้เริ่มดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องใน 3 สาขา ได้แก่ การเกษตร การประมง และสาธารณสุข และได้มีการพัฒนาแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาฯ 3 ปี ระยะที่ 3 (ปี พ.ศ. 2556-2558)

          - ในปัจจุบัน อยู่ระหว่างการให้ความเห็นชอบต่อร่างแผนความร่วมมือฯ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2563 – 2565) ภายใต้กรอบการประชุมความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2563 แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงเลื่อนออกไปก่อน

          - (ร่าง) แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – ติมอร์-เลสเต ระยะ 3 ปี ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2564 – 2566) จำนวน 5 สาขา รวมทั้งสิ้น 16 โครงการ เป็นโครงการใหม่ 15 โครงการ และโครงการ on – going 1 โครงการ ดังนี้

          1) สาขาเกษตร ประกอบด้วย 4 แผนงาน 6 โครงการ

          2) สาขาการศึกษา ประกอบด้วย 2 แผนงาน 4 โครงการ

          3) สาขาสาธารณสุข ประกอบด้วย 1 แผนงาน 3 โครงการ

          4) สาขาการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 1 แผนงาน 1 โครงการ

          5) สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 1 แผนงาน 2 โครงการ (ทุนการศึกษาระดับปริญญาโท ปีละ 5-10 ทุน และทุนฝึกอบรม)

          โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชนในติมอร์–เลสเต ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

          (1) โครงการพัฒนาโรงเรียน Escola Basica Filial Acanuno (อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารเรียน)

          (2) โครงการพัฒนาโรงเรียน Escola Basica Central Fatuquero (อยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารเรียน)

          นอกจากนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบูรณะอาคารสภากาชาดติมอร์ฯ โดยได้ส่งมอบอาคารเมื่อวันที่ ๒ เม.ย. ๒๕๖๓ และสภากาชาดไทย ได้จัดส่งอุปกรณ์รับบริจาคโลหิต ให้ธนาคารโลหิตติมอร์ฯสถานะล่าสุด อยู่ระหว่างรอพิธีการเปิดอาคารอย่างเป็นทางการ

          ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ แจ้งเวียนทุนหลักสูตรนานาชาติประจำปีซึ่งเป็นทุนแข่งขันระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคต่าง ๆ ในสาขา Sufficiency Economy Philosophy (SEP), Food Security, Climate Change, Public Health และ Sustainable Development Goals (SDGs) ให้แก่ติมอร์-เลสเด้วย ได้แก่

          ทุนฝึกอบรมหลักสูตรนานาชาติประจำปี (Annual International Training Course – AITC)

          - ปี 2563 มีผู้ได้รับทุนจากติมอร์-เลสเต ในหลักสูตร online จำนวน 2 หลักสูตร (จำนวน 5 คน) ได้แก่

                  1) หลักสูตร Collaborative and Development of Health System

                  2) หลักสูตร Public Health Measures and Adaptation of Thailand for Emergence of COVID-19

          ทุนศึกษาระดับปริญญาโท (Thai International Post Graduate Programme-TIPP)

          - ปี 2562 มีผู้รับทุนจากติมอร์ฯ ใน 3 หลักสูตร (จำนวน 6 คน) ได้แก่

                  1) หลักสูตร Master of Primary Health Care Management Programme มหาวิทยาลัยมหิดล

                  2) หลักสูตร Master of Bioscience for Sustainable Agriculture มหาวิทยาลัยศิลปากร

                  3) หลักสูตร Diploma Course in Dermatology and Dermatosurgery สถาบันโรคผิวหนัง

          - ปี 2563 แจ้งเวียนทุน รวม 24 หลักสูตร และได้ชะลอไว้ก่อนเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19

          เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรมความร่วมมือฯ ได้จัดทำแผนงานโครงการความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับมือกับ COVID-19 และการจัดฝึกอบรมนานาชาติ (AITC) แบบ online ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องไปแล้ว รวม 4 หลักสูตร (โดยมีผู้แทนจากติมอร์ฯ เข้าร่วม 5 คนใน 2 หลักสูตรข้างต้น)

 

          2. ความร่วมมือไตรภาคี

          ในปี 2562 รัฐบาลไทยร่วมกับแหล่งความร่วมมือต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศให้ความร่วมมือกับติมอร์-เลสเตให้ทุนในสาขาต่าง ๆ ได้แก่

          1) ความร่วมมือไตรภาคี ไทย - KOICA - ติมอร์-เลสเต ในสาขา Sustainable Community Development หลักสูตร Sustainable Agriculture and Environmental Management based on Suffiiciiency Economy Philosophy 2 ครั้ง รวม 13 คน

          2) ความร่วมมือไตรภาคี ไทย - MASHAV - ติมอร์-เลสเต สาขาการศึกษา หลักสูตร Overcoming
the Challenges of Early Chidhood Education (ECE) จำนวน 3 คน

          3) ความร่วมมือไตรภาคี ไทย - UNFPA – ติมอร์-เลสเต สาขาสาธารณสุข หลักสูตร Community Empowerment to Strengthen Maternal and Newborn Health Care จำนวน 2 คน

 

มูลค่าความร่วมมือ

          ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ติมอร์-เลสเตได้รับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในรูปโครงการปีละ 1-2 โครงการ ทุนศึกษาและทุนฝึกอบรมรวมจำนวน 46 ทุน และทุนภายใต้ความร่วมมือไตรภาคีกรอบความร่วมมือต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 34 ทุน มูลค่ารวม 23.50 ล้านบาท ดังนี้

ปี

ความร่วมมือทวิภาคี

ทุนศึกษานานาชาติ (TIPP)

ทุนฝึกอบรมนานาชาติ (AITC)

ความร่วมมือไตรภาคี

ทุนกรอบความร่วมมือต่าง ๆ

รวม

จำนวน

มูลค่า

จำนวน

มูลค่า

จำนวน

มูลค่า

จำนวน

มูลค่า

จำนวน

มูลค่า

โครงการ

ทุน

มูลค่า

โครงการ

ทุน

 

โครงการ

ทุน

2558

1

55

5.66

-

-

8

1.04

-

5

0.67

-

-

1

68

7.37

2559

2

11

0.85

1

0.08

-

-

-

3

0.67

-

-

2

15

1.60

2560

1

12

1.84

5

1.03

9

1.05

-

5

0.41

-

-

1

31

4.33

2561

-

-

-

-

1.73

8

1.08

-

3

0.39

-

-

-

11

4.20

2562

1

-

2.62

6

1.48

9

1.35

-

18

0.55

-

-

1

33

6.00

รวม

5

78

10.97

12

4.32

34

4.52

-

34

3.69

-

-

5

158

23.50

 

ครม._ไทย-ติมอร์_Draft5-01

ครม._ไทย-ติมอร์_Draft5-02

ครม._ไทย-ติมอร์_Draft5-03

 

----------------------------------------

                                                                            ส่วนวางแผนและติดตามผลการให้ความร่วมมือกับต่างประเทศ

                                                                                        กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔