ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

รูปแบบการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย : ภาพรวม

รูปแบบการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย : ภาพรวม

วันที่นำเข้าข้อมูล 25 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 5 เม.ย. 2567

| 11,133 view

รูปแบบการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย (Forms of Development Cooperation)

 

2563-3-17_ppt_as_of_17_mar_Page_028

          ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ ที่มีกรมความร่วมมือเป็นแกนหลัก รูปแบบการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทยปัจจุบันมี ๔ รูปแบบหลัก คือ

          ๑. โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนา: ซึ่งถือเป็นการดำเนินโครงการที่มีกระบวนการครอบคลุมองค์ประกอบหลักของการพัฒนาในทุกด้าน ได้แก่  การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี การสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์ การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญและอาสาสมัครภายใต้โครงการ และอาจรวมถึงการก่อสร้างหรือพัฒนาอาคารสถานที่

          ๒. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : โดยการจัดหลักสูตรฝึกอบรม/ดูงาน โดยหน่วยงานและสถานบันการศึกษาของประเทศไทย โดยดำเนินการใน 2 ลักษณะ คือ

                   ๒.๑ ทุนที่รัฐบาลไทยเสนอให้ มี 2 ลักษณะคือ ทุนฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (Annual International Training Course – AITC)  และ ทุนศึกษาปริญญาโทนานาชาติ  (Thailand International Postgraduate Programme - TIPP)   โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน 3 ปี จำแนกได้เป็น 5 หัวข้อหลัก (Theme) ได้แก่

                         ๒.๑.๑ Sufficiency Economy Philosophy (SEP)
                         ๒.๑.๒ Public Health
                         ๒.๑.๓ Agriculture and Food Security
                         ๒.๑.๔ Climate Change and Environmental Issues
                         ๒.๑.๕ Bio-Circular-Green Economy: BCG Model
                         ๒.๑.๖ สาขาอื่นที่ไทยมีศักยภาพในการแบ่งปันหลักปฏิบัติที่ดี (Best Practices) หรือประสบการณ์ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals – SDGs)

                 ๒.๒ ทุนตามคำขอ โดยเป็นการจัดหลักสูตรดูงาน / ฝึกอบรมตามคำขอของรัฐบาลคู่ร่วมมือ

          ๓. การจัดส่งอาสาสมัครเพื่อนไทย (Friends from Thailand) : ตามคำขอเพื่อไปปฏิบัติงาน ณ ประเทศคู่ร่วมมือภายใต้โครงการหรือตามคำขอ

          ๔. การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญ : ตามคำขอเพื่อไปปฏิบัติงานภายใต้โครงการพัฒนา ณ ประเทศคู่ร่วมมือ