บทความ

บทความ

โครงการสาธารณสุขชายแดน

สาธารณสุขไร้พรมแดน

ครม.สาธารณสุขชายแดน_Draft12_5_May_21-04

ในโลกยุคสังคมดิจิตอล การสื่อสารที่ไร้พรมแดน ยุคที่การพัฒนาและเทคโนโลยีมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้โลกไร้พรมแดน (Globalization) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิถีชีวิตของผู้คน นอกจากจะทำให้เศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้ว ยังทำให้เกิดอาชญากรรมข้ามชาติ และการแพร่กระจายโรคต่าง ๆ อีกด้วย โดยในอดีตการระบาดของโรคจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งต้องใช้เวลาเป็นเดือนด้วยการเดินทางที่จำกัด แต่ปัจจุบันด้วยการเดินทางที่สะดวกสบายทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ สามารถแพร่กระจายได้ชั่วข้ามคืน จากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้โดยไม่ต้องขอ VISA เพื่อขออนุญาตเพื่อเข้าไปแพร่เชื้อในประเทศก็ได้

การดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ซึ่ง TICA เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการดำเนินงานนั้น TICA ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมรับมือและเฝ้าระวังโรคติดต่อต่างๆ จึงได้ดำเนินการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของไทย ด้านสาขาสาธารณสุขกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการดำเนินงานนั้น ได้ดำเนินการโดยพิจารณายุทธศาสตร์สาธารณาสุขชายแดนของไทย พ.ศ. 2560 – 2564 และนโยบาย/ยุทธศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้านสาขาสาธารณสุข ทั้งนี้ ได้จัดทำแผนงานเพื่อเตรียมรับมือกับโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามแนวชายแดนไทยและประเทศเพื่อนบ้านมาตั้งแต่ ปี 2557 เป็นต้นมา รวมทั้งการทำแผนงานความร่วมมือด้านสาธารณสุข ระยะ 3 ปี กับประเทศกัมพูชา เมียนมา และ สปป.ลาว ซึ่ง TICA ได้เริ่มที่กัมพูชาเป็นประเทศแรก

สำหรับ “โครงการสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมสำหรับโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา – เมียนมา – สปป.ลาว” ก่อน ซึ่ง TICA ได้สนับสนุนการดำเนินงานโครงการนี้มาแล้ว 6 ปี โดยรัฐบาลขณะนั้นได้ให้แต่ละหน่วยงานจัดทำโครงการ Flagship เป็นโครงการเชิงรุก เพื่อเสนอให้รัฐบาลให้การสนับสนุน ซึ่งในขณะนั้น ได้มีการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดตามแนวชายแดน มีการส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาค มีการพัฒนาสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาทำงานในประเทศไทยเนื่องจากโอกาสในการจ้างงานและรายได้ที่สูงกว่า

TICA และกระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักและเห็นความสำคัญถึงการเตรียมพร้อมในการรับมือกับความต้องการในการดูแลสุขภาพและเตรียมความพร้อมในการรับมือกับโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นตามแนวชายแดนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือกับโรคติดต่อ และโคอุบัติใหม่ตามแนวชายแดน และเพื่อเป็น Model ความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งชาวไทยและแรงงานข้ามชาติ  ทั้งนี้  TICA เข้าไปทำงานในเชิงรุก เพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุขของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนการเกิดโรคต่างๆ การแจ้งเตือนที่ดำเนินการเป็นการการทำงานเชิงรุกร่วมกันระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชายแดนต่างๆ  

ความท้าทายของการป้องกันและเฝ้าระวังด้านสาธารณสุข คือ “ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันโรคที่ต้นทาง” ดังนั้น จึงเกิดการบูรณาการในการทำงานร่วมกันระหว่างสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชายแดนไทยกับสำนักงานสาธารณสุขของประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งหมด 13 คู่ ดังนี้

สาธาชายแดน_BK8_5_May_21-01

ชายแดนไทย – ลาว จำนวน 5 คู่ คือ (1) เชียงราย – บ่อแก้ว (2) หนองคาย – นครหลวงเวียงจันทน์ (3) นครพนม – คำม่วน (4) มุกดาหาร – สะหวันนะเขต และ (5) อุบลราชธานี- จำปาสัก

ชายแดนไทย – กัมพูชา จำนวน 4 คู่ คือ (1) อุบลราชธานี – พระวิหาร (2) สุรินทร์ – อุดรมีชัย (3) สระแก้ว – บันเตียเมีนยเจย และ (4) ตราด – เกาะกง

ชายแดนไทย – เมียนมา จำนวน 4 คู่ คือ (1) ตาก –เมียวดี (2) เชียงราย - ท่าขี้เหล็ก (3) ระนอง – เกาะสอง และ (4) กาญจนบุรี -ทวาย

การดำเนินการที่ผ่านมาหน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านก็มีความร่วมมือระหว่างกันต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน แต่เนื่องจากงบประมาณสำหรับการดำเนินงานกับประเทศเพื่อนบ้านได้ตั้งไว้ที่ TICA ดังนั้น บทบาทหน้าที่ของ TICA คือ เข้าไปเสริมเพิ่มกิจกรรมที่จะดำเนินการในต่างประเทศมากขึ้น โดยระยะแรกการดำเนินโครงการเป็นในลักษณะปีต่อปี (2557 2558 และ 2559) หลังจากนี้ไป TICA จะทำเป็นแผนงานระยะเวลา 3 ปี (2561 - 2563) เป็นการทำแผนระยะกลาง 3 ปี ทำให้มีการออกแบบโครงการที่มองถึงเป้าหมายที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข

กิจกรรมความร่วมมือที่ดำเนินการร่วมกันเป็นกิจกรรมนั้น เป็นกิจกรรมเชิงป้องกัน ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ประสานงานในพื้นที่เป้าหมาย การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในด้านทักษะการสื่อสารและกระบวนการเข้าถึง การจัดบริการสุขภาพและการส่งต่อ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุขของประเทศเพื่อนบ้าน เป้าหมายของการทำงานสาธารณสุขแบบไร้พรมแดนนี้ คือ ต้องการ Model หรือแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของการทำงานความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งต้องการให้ประเทศเพื่อนบ้านมีสุขภาพที่ดี และทำให้ประชาคมอาเซียนสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

การดำเนินงานความร่วมมือด้านสาธารณสุขกับประเทศเพื่อนบ้าน

รัฐบาลไทยได้ดำเนินการเชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้ให้ความร่วมมือแก่ประเทศเพื่อนบ้านในการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถด้านสาธารณสุขแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ดังนี้

 

ไทย – สปป.ลาว

พัฒนาโรงพยาบาลของลาว ตามแนวชายแดนไทย - ลาว

  1. โครงการพัฒนาโรงพยาบาลเมืองโพนโฮง แขวงเวียงจันทน์ เพื่อให้เป็นศูนย์รองรับและฟื้นฟูผู้ป่วย ยาเสพติด และให้สามารถรองรับผู้ป่วยอุบัติเหตุเบื้องต้นและส่งต่อได้
  • ก่อสร้างอาคารบำบัดผู้ป่วยยาเสพติด และปรับปรุงอาคารผู้ป่วยนอกให้เป็นศูนย์แรกรับอุบัติเหตุและส่งต่อ
  • พัฒนาบุคลากรของโรงพยาบาล (ฝึกอบรมระยะสั้น และทุนศึกษาระดับปริญญาโท)
  • สนับสนุนเครื่องมือ/อุปกรณ์ทางการแพทย์

 

  1. โครงการพัฒนาโรงพยาบาลแขวงบ่อแก้ว เพื่อพัฒนาศักยภาพในการรองรับผู้มารับบริการในแผนกผู้ป่วยใน และแม่และเด็ก
  • ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยแม่และเด็ก 2 ชั้น
  • การสนับสนุนอุปกรณ์/เครื่องมือทางการแพทย์ (ที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วยในและแม่และเด็ก)
  • การพัฒนาบุคลากร จำนวน 3 หลักสูตร คือ (1) การดูแลรักษาผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์ 2 คน 30 วัน (2) การดูแลรักษาผู้ป่วยทางกุมารเวชศาสตร์และทารกแรกคลอด 3 คน 30 วัน และ (3) การดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะวิกฤตฉุกเฉินในห้องฉุกเฉิน (ER) และผู้ป่วยหนัก (ICU) ) 3 คน 30 วัน

 

  1. โครงการพัฒนาโรงพยาบาลเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลระดับเมือง (สามารถให้บริการผ่าตัดได้) และเป็นต้นแบบของการพัฒนาโรงพยาบาลระดับเมืองของลาว
  • ก่อสร้างอาคารผู้ป่วย โรงจ่ายกลาง บ่อบำบัดน้ำเสีย และปรับปรุงภูมิทัศน์
  • พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์โดยให้การฝึกอบรมระยะสั้น
  • สนับสนุนอุปกรณ์/เครื่องมือทางการแพทย์

 

  1. ความร่วมมือไตรภาคี ไทย - UNFPA (ปทท. และ สปป.ลาว) – สปป.ลาว ด้านอนามัยแม่และเด็ก (Safe Motherhood) เน้นการพัฒนาด้านการผดุงครรภ์ (Midwifery) ของ สปป.ลาว

(1) จัดศึกษาดูงานให้แก่ผู้บริหารระดับสูง และเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของ สปป. ลาว เกี่ยวกับนโยบายและการบริหารจัดการมาตรฐานหลักสูตรการเรียนการสอน และมาตรฐานการผดุงครรภ์ ที่กรุงเทพฯ

(2) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Workshop on development capacity of Training of Trainers (TOT) จำนวน 2 หลักสูตร (คู่ขนานกัน) ได้แก่ (1) หลักสูตรระยะสั้น (4 เดือน) ให้แก่ครู/อาจารย์ผดุงครรภ์อาวุโส (Senior Midwifery Teacher) จำนวน 10 ราย (2) หลักสูตรระยะกลาง (6 เดือน) ให้แก่ครู/อาจารย์ผดุงครรภ์ (Midwifery Teacher) จำนวน 18 ราย จากแขวงหลวงพระบาง เวียงจันทน์ อุดมไซย สาละวัน สะหวันนะเขต จำปาสัก  

(3) จัดทำคู่มือการเรียนการสอนจำนวน 5 ชุด เป็นภาษาไทย/อังกฤษ ได้แก่ (1) Teaching and learning in Midwifery (2) Clinical Supervisions at Antenatal Clinic (3) Clinical Supervision at Labour Room (4) Clinical Supervision at Postpartum Unit and Home Visit และ (5) Guidelines for Calculating Teaching Workload

 

ไทย – กัมพูชา

            รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา โดย Council for the Development of Cambodia ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างไทยกับกัมพูชา ได้เห็นชอบร่วมกันที่จะดำเนินความร่วมมือในลักษณะแผนงาน (Program-based Approach) ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2560 – 2562) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างสองประเทศใน 3 สาขา ได้แก่ เกษตร สาธารณสุข และศึกษา โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ของทั้งสามสาขาเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ที่กรุงพนมเปญ สำหรับสาขาสาธารณสุขนั้น ไทยและกัมพูชาได้หารือแผนโครงการร่วมกัน ระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2559 ที่กรุงพนมเปญ ต่อมาได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วย การพัฒนาความร่วมมือด้านสาธารณสุข เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2559 ที่กรุงเทพมหานคร โดยได้บรรจุแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – กัมพูชา ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2560 – 2562) สาขาสาธารณสุข เป็นเอกสารแนบท้ายบันทึกความเข้าใจฯ ว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านสาธารณสุขในลักษณะ Action Plan โดยแผนงานความร่วมมือฯ ระยะ 3 ปี มีสาระสำคัญ ดังนี้

  1. เป้าประสงค์ของแผนงานความร่วมมือ ได้แก่
  • เพื่อเพิ่มพูนการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ข้ามชายแดนไทย – กัมพูชา
  • เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านสาธารณสุขและระบบส่งต่อระหว่างไทย – กัมพูชา เพื่อให้บริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพระหว่างสองประเทศ
  1. แผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – กัมพูชา สาขาสาธารณสุข ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2560 – 2562)

มี 4 แผนงานย่อย ดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว – บันเตียเมียนเจย และจังหวัดตราด – เกาะกง ดังนี้

  • การสอบสวน การป้องกัน และการเฝ้าระวังโรคติดต่อ ซึ่งรวมถึงโรคติดต่ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำ ตามพื้นที่ชายแดน (Communicable Disease Surveillance, Prevention and Control in Border Area; including Emerging, Re-emerging Disease)
  • โครงการขจัดโรคมาลาเรีย บริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา
  • โครงการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ
  • โครงการพัฒนาจุดผ่านแดน
  • โครงการส่งเสริมแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว
  • การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข

(Medical and Public Health Staff Capacity Building)

  • ขีดความสามารถกำลังคนด้านสุขภาพในด้านการบริการสุขภาพ การพยาบาล และการจัดกาโรคติดต่อ
  • การฝึกอบรมวิทยากรด้านระบาดวิทยา
  • การพัฒนาระบบส่งต่อ (Referral System Improvement)
  • การเสริมสร้างระบบส่งต่อของกัมพูชา
  • การพัฒนาโรงพยาบาลพี่-น้อง (Sister Hospital Development)
  • การพัฒนาความร่วมมือโรงพยาบาลพี่ – น้อง
  1. ไทยและกัมพูชาได้พิจารณากลไกการดำเนินงานร่วมกัน และเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการ

อำนวยการ (Steering Committee) เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนความร่วมมือฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทยและกัมพูชาเป็นประธาน และให้จัดการประชุมอย่างน้อยปีละครั้ง และคณะกรรมการสาธารณสุขชายแดน (Border Health Committee) ในระดับพื้นที่ ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามแผนความร่วมมือฯ (พ.ศ. 2560 – 2562) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (TICA) เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ รวมทั้งกำกับการดำเนินตามแผนงานความร่วมมือฯ ในภาพรวม

 

ไทย – เมียนมา

  1. โครงการพัฒนาแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลทวาย เพื่อพัฒนาแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลทวายให้มีศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินเพื่อรองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

(1) การก่อสร้างอาคารฉุกเฉิน 2 ชั้น 1 หลัง

(2) เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ จำนวน 6 รายการ และรถพยาบาลฉุกเฉิน 1 คัน

(3) แผนงานพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์

            - Study visit on “Hospital Environmental Management & Infectious Control”

            - Training on “Basic Trauma and Emergency Care”

            - Training on “Basic ICU and Operation Room (OR) Care”

            - Training on “Trauma and Emergency Care (basic course)” Group 1 & Group 2

            - In Country Training on Trauma and Emergency Care at Dawei Hospital

            - Study visit for Administrative staff of Dawei Hospital

            - Training on Emergency care and ambulance

 

ความร่วมมือสาธารณสุขชายแดน

โครงการสร้างความตระหนักสาธาฯโรคติดต่อ_แน_2

  1. โครงการสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมสำหรับโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา – เมียนมา – สปป. ลาว (Building Awareness and Preparedness for Communicable Diseases and Emerging Diseases along the Thailand-Cambodia-Myanmar-Lao PDR Borders) เพื่อเป็นต้นแบบความร่วมมือระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน กิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ (1) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสารและพัฒนา Web Site ข้อมูลสาธารณสุขระหว่างประเทศ (2) การพัฒนาศักยภาพทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน (3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการป้องกันโรค (4) การอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข การสร้างความตระหนักฯ เชิงป้องกัน (Preventive Strategy) (5) การพัฒนาศักยภาพแกนนำด้านทักษะการสื่อสารและกระบวนการเข้าถึงเป้าหมาย การจัดบริการสุขภาพ และ (5) การส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดน โดยมีพื้นที่ดำเนินโครงการ ได้แก่
  2. เชียงราย – บ่อแก้ว (สปป.ลาว)
  3. หนองคาย – เวียงจันทน์ (สปป.ลาว)
  4. นครพนม – คำม่วน (สปป.ลาว)
  5. มุกดาหาร – สะหวันนะเขต (สปป.ลาว)
  6. อุบลราชธานี – จำปาสัก (สปป.ลาว)
  7. อุบลราชธานี – พระวิหาร (กัมพูชา) 
  8. สุรินทร์ – อุดรมีชัย (กัมพูชา)
  9. สระแก้ว – บันเตียเมียนเจย (กัมพูชา)
  10. ตราด – เกาะกง (กัมพูชา)
  11. ระนอง – เกาะสอง (เมียนมา)
  12. ตาก – เมียวดี (เมียนมา)
  13. เชียงราย - ท่าขี้เหล็ก (เมียนมา)