ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

มูลค่าภาพรวม ODA ประจำปี ๒๕๖๔

มูลค่าภาพรวม ODA ประจำปี ๒๕๖๔

วันที่นำเข้าข้อมูล 10 ต.ค. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 11 ต.ค. 2565

| 18,514 view

ODA คืออะไร และ ประเทศไทยมีหน่วยงานใดทำหน้าที่ในการกำกับดูแลและบริหาร ODA ของไทย

ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ หรือ Official Development Assistance - ODA แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ๑) ความช่วยเหลือแบบเงินให้เปล่า/ความร่วมมือทางวิชาการ (Grant and Technical Cooperation) ๒) ความช่วยเหลือทางการเงิน หรือเงินกู้ผ่อนปรน (Financial Assistance and Soft Loan) และ ๓) เงินบริจาค/เงินสนับสนุนแก่องค์กรพหุภาคีและองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Contribution to International Organizations)

การดำเนินงาน ODA ของประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้จัดตั้ง ๒ หน่วยงาน เพื่อกำกับดูแลและบริหารงาน ODA ของประเทศไทย ได้แก่ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือ TICA สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการบริหารความร่วมมือทางวิชาการ ส่วนอีกหนึ่งหน่วยงาน คือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization)) หรือ NEDA สังกัดกระทรวงการคลัง มีบทบาทรับผิดชอบดูแลการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน

สำหรับเงินบริจาคนั้น แต่ละหน่วยงานที่มีพันธกรณีที่ได้ผูกพันไว้กับองค์การระหว่างประเทศจะดำเนินการเอง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น

200A1FC4-6857-4F21-96B3-5D774B2E48F1

สนใจรายละเอียดมูลค่าความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการที่ประเทศไทยให้แก่ต่างประเทศ (ODA) อ่านเพิ่มเตมได้ที่ https://tica-thaigov.mfa.go.th/th/content/oda

การให้ความช่วยเหลือของประเทศไทย โดย TICA (TICP) ได้ที่ https://tica-thaigov.mfa.go.th/th/content/ticp