ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

ข้อมูลความร่วมมือไตรภาคีกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา : Colombo Plan

ข้อมูลความร่วมมือไตรภาคีกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา : Colombo Plan

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 8,295 view

แผนโคลัมโบ (Colombo Plan)

ข้อมูลทั่วไป

 

 ความตกลง

    ๑) บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding - MOU) ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กับแผนโคลัมโบ      เพื่อดำเนินการ Long-term Fellowship Programme ลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๔ (๒๕๔๗)

    ๒) Record of Discussion ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศและแผนโคลัมโบ เพื่อดำเนินงานทุนศึกษาและทุนฝึกอบรมระยะสั้น ในปี ค.ศ. ๒๐๐๖/๒๐๐๗ ณ วันที่ ๘ สิงหาคม ค.ศ. ๒๐๐๖ (๒๕๔๙) (เป็นแนวทางความร่วมมือมาถึงปัจจุบัน)

วิธีการดำเนินความร่วมมือ

ความร่วมมือไตรภาคี

 

รูปแบบความร่วมมือ

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (หลักสูตร/การประชุมเชิงปฏิบัติการ)

อมูลเกี่ยวกับแผนโคลัมโบ

 

แผนโคลัมโบ (Colombo Plan) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๔๙๔ (ค.ศ. ๑๙๕๑) โดยการริเริ่มของประเทศ เครือจักรภพ ๗ ประเทศ

วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือเพื่อยกระดับการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชากร ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยให้ความสำคัญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี

ที่ตั้ง สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบตั้งอยู่ ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา

ปัจจุบันแผนโคลัมโบ ประกอบด้วยรัฐสมาชิก ๒๗ ประเทศ ประกอบด้วย อัฟกานิสถาน ออสเตรเลีย บังกลาเทศ ภูฏาน บรูไนดารุสซาลาม ฟิจิ อินเดีย  อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้  สปป. ลาว มาเลเซีย มัลดีฟส์ มองโกเลีย เมียนมา  เนปาล  นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ ซาอุดิอาระเบีย สิงคโปร์ ศรีลังกา ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม โดยมีหน่วยงานภาครัฐ เป็นหน่วยประสานงานกลาง โดยประเทศไทย ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก แผนโคลัมโบ ตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ (ค.ศ. ๑๙๕๔) โดยมีกรมวิเทศสหการ (กรมความร่วมมือ ระหว่างประเทศในปัจจุบัน) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานประสานงานกลาง

กรอบกฎหมาย และกลไกการดำเนินงาน

๑) ธรรมนูญขององค์กรฉบับปรับปรุง ปี ค.ศ. ๒๐๑๒ (Legal Manual Constitution of Colombo Plan (Revised 2012)] ซึ่งกำหนดแนวทางในการดำเนินงานบริหารจัดการองค์กร และประเทศสมาชิก

๒) คณะกรรมการที่ปรึกษาแผนโคลัมโบ (Consultative Committee – CCM) เป็นกลไก สูงสุดเพื่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน

๓) คณะมนตรีแผนโคลัมโบ (Colombo Plan Council – CPC) เพื่อติดตามความคืบหน้า ผลการดำเนินงานและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ

๔) สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบ (Secretariat) มีหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานให้เป็นไปตาม  แนวทางของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ และคณะมนตรีฯ โดยมีเลขาธิการแผนโคลัมโบทำหน้าที่ บริหารงาน ดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี ปัจจุบัน Mrs. Phan Kieu Thu ชาวเวียดนามเข้ารับ ตำแหน่งเลขาธิการแผนโคลัมโบเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑     

งบประมาณ

๑) จากเงินอุดหนุนซึ่งเป็นพันธกรณีของทุกประเทศสมาชิก โดยเท่าเทียมกัน ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลไทย โดยมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมความร่วมมือระหว่างประเทศสนับสนุน เงินค่าสมาชิก ปีละ ๖๐๐,๐๐๐ บาท และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สนับสนุนการดำเนินงาน แผนงานยาเสพติด ปีละ ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ

๒) จากการสนับสนุนของประเทศ/องค์กรผู้ให้ อาทิ สหรัฐอเมริกา สนับสนุนงบประมาณด้าน ยาเสพติด และกองทุนโอเปคเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (The OPEC Fund for International Development: OFID) สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

แผนงาน

เน้นการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในภาครัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้แผนงานหลัก ๕ แผนงาน ได้แก่        

๑) Capacity Building Programme

๒) Drug Advisory Programme: DAP 

๓) Gender Affairs Programme: GAP

๔) Environment Programme: ENV

๕) Global Centre for Credentialing and Certification: GCCC

 

ความร่วมมือทางวิชาการในปัจจุบัน

ภายใต้แผนงาน Capacity Building Programme

๑. ในระยะแรกประเทศไทยเป็นผู้รับความร่วมมือจากแผนโคลัมโบทั้งในรูปแบบโครงการ

ได้แก่ ๑) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น การสร้างถนน การสร้างเขื่อน และโรงผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น และ ๒) การรับทุนศึกษา/ ฝึกอบรมข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของไทย ในการพัฒนาประเท

๒. ในระยะที่สองประเทศไทยปรับบทบาทเป็นประเทศผู้ให้ โดยร่วมมือกับแผนโคลัมโบ จัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากรประเทศสมาชิกภายใต้แผนงาน Capacity Building Programme โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ นายกิตติพันธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ แผนโคลัมโบระหว่างปี ๒๕๔๖ – ๒๕๕๐ ได้ขยายงานการฝึกอบรม ทั้งทุนฝึกอบรมระยะสั้นและ ระยะยาวให้แก่ประเทศสมาชิก โดยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding - MOU) ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับแผนโคลัมโบเพื่อดำเนินการ Long-term Fellowship Programme เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๔ (๒๕๔๗)

๓. ในปัจจุบันกรมความร่วมมือระหว่างประเทศมีความร่วมมือกับแผนโคลัมโบในลักษณะหุ้นส่วน ภายใต้แผนงาน Capacity Building Programme โดย ๑) ร่วมกันออกค่าใช้จ่ายและ ๒) ประเทศไทยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดภายใต้ทุนฝึกอบรมประจำปี (Annual International Training Course: AITC) ในการจัดฝึกอบรม ระยะสั้น ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้แนวทาง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ประเทศสมาชิกจำนวน ๑-๒ หลักสูตรต่อปี ดังรายละเอียดด้านล่าง

ภายใต้แผนงาน Drug Advisory Programme: DAP 

 

 

๑. ประเทศไทยมีความร่วมมือด้านการควบคุมยาเสพติดกับแผนโคลัมโบอย่างใกล้ชิด ภายใต้โครงการ (Drug Advisory Programme – DAP) โดยการประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส) และมีพันธะผูกพันในฐานะ ประเทศสมาชิกแผนโคลัมโบในการบริจาคเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในระดับภูมิภาค ตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ โดยในปัจจุบันบริจาคเงินอุดหนุนปีละ ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดย DAP ได้ให้การสนับสนุนทุนฝึกอบรมแก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องกับงานแก้ไขปัญหายาเสพติด ของไทยมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดโครงการฝึกอบรมในลักษณะร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่าย กับสำนักงาน ป.ป.ส. อาทิ หลักสูตร International Training Course on Precursors and Chemical Control for Asian Narcotic Law Enforcement Officers ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบันสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมเป็นคณะกรรมการรับรองมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟู  สมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพแห่งชาติ ซึ่งตั้งขึ้นตามโครงการ รับรองมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติดสากล (The International Centre for Certification and Education of Addiction Professionals : ICCE) ซึ่งเป็นสาขาของ DAP ในการฝึกอบรม และรับรองวิทยฐานะแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 

๒. ในระยะหลังแผนโคลัมโบให้ความสนใจเรื่องการทดสอบตัวอย่างยาเสพติดตามโครงการ Toxin Adulterant Project ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ส. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการ ห้องปฏิบัติการ ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลระหว่างประเทศ ในโครงการตรวจสอบ สารเติมแต่งที่เป็นพิษที่มีการใช้ผสมในยาเสพติดตามท้องตลาด เพื่อนำมาใช้ในระบบแจ้งเตือน  สารเติมแต่งชนิดใหม่สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุ ที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพและ ให้การบำบัดรักษา ต่อไป และล่าสุด DAP มีโครงการจัดอบรมโดยให้ความสำคัญกับผู้ป่วยสตรี โดยการจัดการอบรม หลักสูตรนำร่องการบำบัดรักษาสตรีผู้ใช้ยาเสพติด

ภายใต้แผนงาน Gender Affairs Programme: GAP

 

 

 

 

 

 

ความร่วมมือกับกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว

๑. ที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาแผนโคลัมโบครั้งที่ ๔๓ ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๒  ตุลาคม ๒๕๕๕  เห็นควรให้มีแผนงาน Gender Affairs Programme: GAP แยกออกมาจากแผนงาน DAP และต่อมาที่ประชุมคณะมนตรีแผนโคลัมโบครั้งที่ ๒๘๒ เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ได้มีมติก่อตั้งแผนงาน GAP โดยรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ให้เงินสนับสนุนเริ่มต้นจำนวน ๒๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวเป็นหน่วยประสานงานกลางของฝ่ายไทย

๒. กิจกรรมที่ผ่านมา ได้แก่ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้เข้าร่วมการประชุม Gender Focal Point Meeting ต่าง ๆ โดยครั้งแรกจัดเมื่อปี ๒๕๕๘ และครั้งที่ ๔ (ล่าสุด) เมื่อปี ๒๕๖๒ และระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ เลขาธิการแผนโคลัมโบและผู้อำนวยการแผนงาน GAP ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อหารือความร่วมมือในแผนงาน GAP ที่จะดำเนินการร่วมกันต่อไปโดยมุ่งเน้นด้าน Gender Responsive Budgeting and Women’s Economic Empowerment

ภายใต้แผนงาน Global Centre for Credentialing and Certification: GCCC

ความร่วมมือกับสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.)

๑. โครงการรับรองมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดสากล (Global Centre for Credentialing and Certification: GCCC) ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก   The Bureau of International Narcotics and Law Enforcement Affairs (INL) ของสหรัฐฯ เพื่อฝึกอบรมนักบำบัดยาเสพติดในเอเชียและแอฟริกา เพื่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรโลกให้ห่างไกลจากยาเสพติด ซึ่งมีหลักสูตร ๒ สาขา คือ การป้องกันการติดยาเสพติด และการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด โดยหลักสูตรด้านการป้องกันอยู่ในระหว่างการพัฒนา

๒. กิจกกรรมความร่วมมือระหว่างไทยกับแผนโคลัมโบระหว่างปี ๒๕๕๙-๒๕๖๒ มีดังนี้

   ๒.๑ ด้านการบำบัดรักษา (Universal Treatment Curricular – UTC)  

      ๑) จัดทำคู่มือและแปลคู่มือหลักสูตรด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดสากลเป็นภาษาไทย

      ๒) จัดฝึกอบรมให้คนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

      ๓) จัดฝึกอบรมให้ระดับ Advance UTC ให้แก่ ประเทศสมาชิกอาเชียน

๓. แผนงาน/ความต้องการและการดำเนินงานต่อไป

    ๑) ความต้องการของไทยในการพัฒนาบุคลากรให้เป็นนักฝึกอบรมด้าน UTC

    ๒) การฝึกอบรมจากแผนโคลัมโบให้แก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันการติดยาเสพติดสากล (Universal Prevention Curricular – UPC)

    ๓) การแบ่งปันประสบการณ์ของไทยด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

ภายใต้แผนงาน Capacity Building Programme

 

 

๑. ในระยะแรกประเทศไทยเป็นผู้รับความร่วมมือจากแผนโคลัมโบทั้งในรูปแบบโครงการ

ได้แก่ ๑) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น การสร้างถนน การสร้างเขื่อน และโรงผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น และ ๒) การรับทุนศึกษา/ ฝึกอบรมข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของไทย ในการพัฒนาประเท

๒. ในระยะที่สองประเทศไทยปรับบทบาทเป็นประเทศผู้ให้ โดยร่วมมือกับแผนโคลัมโบ จัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากรประเทศสมาชิกภายใต้แผนงาน Capacity Building Programme โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ นายกิตติพันธ์ กาญจนพิพัฒน์กุล ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ แผนโคลัมโบระหว่างปี ๒๕๔๖ – ๒๕๕๐ ได้ขยายงานการฝึกอบรม ทั้งทุนฝึกอบรมระยะสั้นและ ระยะยาวให้แก่ประเทศสมาชิก โดยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding - MOU) ระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับแผนโคลัมโบเพื่อดำเนินการ Long-term Fellowship Programme เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๔ (๒๕๔๗)

๓. ในปัจจุบันกรมความร่วมมือระหว่างประเทศมีความร่วมมือกับแผนโคลัมโบในลักษณะหุ้นส่วน ภายใต้แผนงาน Capacity Building Programme โดย ๑) ร่วมกันออกค่าใช้จ่ายและ ๒) ประเทศไทยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดภายใต้ทุนฝึกอบรมประจำปี (Annual International Training Course: AITC) ในการจัดฝึกอบรม ระยะสั้น ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยใช้แนวทาง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่ประเทศสมาชิกจำนวน ๑-๒ หลักสูตรต่อปี ดังรายละเอียดด้านล่าง

ภายใต้แผนงาน Drug Advisory Programme: DAP 

 

 

๑. ประเทศไทยมีความร่วมมือด้านการควบคุมยาเสพติดกับแผนโคลัมโบอย่างใกล้ชิด ภายใต้โครงการ (Drug Advisory Programme – DAP) โดยการประสานงานของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส) และมีพันธะผูกพันในฐานะ ประเทศสมาชิกแผนโคลัมโบในการบริจาคเงินอุดหนุนเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการแก้ไขปัญหา ยาเสพติดในระดับภูมิภาค ตั้งแต่ปี ๒๕๒๓ โดยในปัจจุบันบริจาคเงินอุดหนุนปีละ ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการแก้ไขปัญหายาเสพติดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดย DAP ได้ให้การสนับสนุนทุนฝึกอบรมแก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องกับงานแก้ไขปัญหายาเสพติด ของไทยมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการจัดโครงการฝึกอบรมในลักษณะร่วมกันรับผิดชอบค่าใช้จ่าย กับสำนักงาน ป.ป.ส. อาทิ หลักสูตร International Training Course on Precursors and Chemical Control for Asian Narcotic Law Enforcement Officers ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบันสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมเป็นคณะกรรมการรับรองมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟู  สมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพแห่งชาติ ซึ่งตั้งขึ้นตามโครงการ รับรองมาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านการบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติดสากล (The International Centre for Certification and Education of Addiction Professionals : ICCE) ซึ่งเป็นสาขาของ DAP ในการฝึกอบรม และรับรองวิทยฐานะแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด 

๒. ในระยะหลังแผนโคลัมโบให้ความสนใจเรื่องการทดสอบตัวอย่างยาเสพติดตามโครงการ Toxin Adulterant Project ซึ่งสำนักงาน ป.ป.ส. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการ ห้องปฏิบัติการ ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลระหว่างประเทศ ในโครงการตรวจสอบ สารเติมแต่งที่เป็นพิษที่มีการใช้ผสมในยาเสพติดตามท้องตลาด เพื่อนำมาใช้ในระบบแจ้งเตือน  สารเติมแต่งชนิดใหม่สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพและ ให้การบำบัดรักษา ต่อไป และล่าสุด DAP มีโครงการจัดอบรมโดยให้ความสำคัญกับผู้ป่วยสตรี โดยการจัดการอบรม หลักสูตรนำร่องการบำบัดรักษาสตรีผู้ใช้ยาเสพติด

 

 

ความร่วมมือระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศกับแผนโคลัมโบในการจัดฝึกอบรมระยะสั้น รวมหลักสูตรที่การร่วมกันออกค่าใช้จ่ายและหลักสูตรภายใต้ AITC ซึ่งรัฐบาลไทยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด

 

หลักสูตร

2014

2015

2016

2017

2018

2019

Grassroots Economics Development (GED) following Sufficiency Economy Philosophy (ร่วมกันออกค่าใช้จ่าย)

ไม่มี

การจัดหลักสูตร

๑๒

 

 

 

 

From Sufficiency Economy to Wealthiness of the Nation ภายใต้ (ร่วมกันออกค่าใช้จ่าย)

 

๑๐

 

 

 

 

Microfinance for Small and Medium-sized Enterprises (SMEs) Development in the Asia Pacific Region (ร่วมกันออกค่าใช้จ่าย)

 

 

๒๒

 

 

 

Posthavest Technology of Fruit and Vegetable Crops for Developing Countries (ร่วมกันออกค่าใช้จ่าย)

 

 

 

๒๒

 

 

Forest based Eco-tourism management (ภายใต้ AITC)

 

 

 

 

 

Community-based Eco-tourism Development (ร่วมกันออกค่าใช้จ่าย)

 

 

 

 

๒๐

 

Moving Local Agricultural Productions from

Self-sufficient Production and Household

Consumption to Market (ภายใต้ AITC)  

 

 

 

 

 

Community-based Microcredit and Sufficiency

Economy Development (ร่วมกันออกค่าใช้จ่าย)

 

 

 

 

 

๑๔

Gender Equality and Women Empowerment: Sharing Good Practices and Experiences of Thailand   (ภายใต้ AITC)

 

 

 

 

 

 

รวมผู้รับทุนทั้งสิ้น ๑๑๙ ราย ในรอบ ๕ ปีที่ผ่าน

-

๒๒

๒๒

๓๑

๒๗

๑๗

 

 

สถานะ ณ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๓

 

   ภารกิจความร่วมมือหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

กระทรวงการต่างประเทศ