ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย
ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย
วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ส.ค. 2563
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
ACMECS กับการดำเนินงานของ TICA
ภูมิหลัง
การนำความเจริญไปสู่แนวชายแดน เพื่อปูทางไปสู่การค้าการลงทุนตามแนวชายแดน ซึ่งจะช่วยในการสร้างงาน สร้างรายได้ และลดความเหลื่อมล้ำ/ช่องว่างการพัฒนา
รายละเอียด
๑) Human Resource Development and Application of Modern Technology (Smart Entrepreneur i.e. SMEs, Startups, Smart Agriculture, Smart Tourism, Smart Medical Services, Smart Education, Smart Cities, Cyber Security)
๒) Environmental Cooperation
- Natural Resources Conservation
- Water Resource Management
- Climate Change
- Disaster Risk Management
- Energy Efficiency and Promotion of Renewable Energy
๓) Sustainable Agriculture
๔) Tourism
๕) Health
การสนับสนุนด้านทุนการศึกษาในกรอบทวิภาคี
- ในการประชุม ACMECS Summit ครั้งที่ ๕ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ ณ เวียงจันทน์ นายกรัฐมนตรี (น.ส. ยิ่งลักษณ์ฯ) ได้แจ้งที่ประชุมถึงความพร้อมของไทยในการสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลากรภาคเอกชนของประเทศสมาชิก ACMECS โดยที่ประชุมเห็นชอบให้กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (สพร. ในขณะนั้น) สนับสนุนทุนการศึกษาดังกล่าวภายใต้กรอบ ACMECS ให้แก่ผู้รับทุนจากประเทศสมาชิก ACMECS (สปป. ลาว เมียนมา กัมพูชา และเวียดนาม) ประเทศละ ๔ ทุนต่อปี ภายใต้ระยะเวลาดำเนินการ ๒ ปี (๒๕๕๗-๒๕๕๘) รวม ๓๒ ทุน ให้มาศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) (Global MBA Program) ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศสนับสนุนทุนการศึกษา (ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของผู้รับทุน) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยลดค่าธรรมเนียมการศึกษาของผู้รับทุนร้อยละ ๕๐
- กรมความร่วมมือระหว่างประเทศและมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเห็นชอบร่วมกันในการดำเนินงาน ทุนศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (MBA Offshore Program) (แบบทำวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ ระยะเวลา ๒ ปีการศึกษา) ผู้รับทุนศึกษา ณ กรุงย่างกุ้ง และเมืองมัณฑะเลย์ เมียนมา ปีละ ๖ ทุน โดยหลักสูตรริเริ่มจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ สภาหอการค้าไทย และสภาหอการค้าเมียนมา จัดสรรให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเมียนมา ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงกลาโหม (หน่วยงานละ ๒ ทุน) แบ่งเป็นทุนศึกษา ณ กรุงย่างกุ้ง จำนวน ๓ ทุน และเมืองมัณฑะเลย์ จำนวน ๓ ทุน เป็นระยะเวลา ๓ ปี (๒๕๕๖-๒๕๕๘) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public and Private Partnership: PPP) ในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้แก่เมียนมา โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าเป็นผู้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ รับสมัคร คัดเลือกและสอบสัมภาษณ์ เพื่อส่งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศรับผิดชอบเฉพาะค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตลอดหลักสูตร จำนวนไม่เกิน ๑๐,๕๐๐ ดอลลาร์สหรัฐต่อคน
- ต่อมา ในช่วงการเยือนเมียนมาของรองนายกรัฐมนตรีสมคิดฯ ระหว่างวันที่ ๒-๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ประธานาธิบดีเมียนมา (อู่ ติน จ่อ) ขอให้ฝ่ายไทยสนับสนุนการมอบทุนการศึกษาต่อไปเพื่อให้เมียนมามีทรัพยากรมนุษย์เพียงพอสำหรับการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกรมความร่วมมือฯ ได้สนับสนุนทุนการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจ MBA Offshore Program ณ เมียนมา ในระยะที่ ๒ เป็นระยะเวลา ๓ ปี (๒๕๖๐-๒๕๖๒) ซึ่งกรมความร่วมมือระหว่างประเทศรับผิดชอบเฉพาะค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตลอดหลักสูตร จำนวนไม่เกิน ๑๐,๕๐๐ ดอลลาร์สหรัฐต่อคน
- กรมความร่วมมือระหว่างประเทศดำเนินการร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันฯ ศศินทร์สนับสนุนค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศสนับสนุนค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องตามระเบียบกรมความร่วมมือระหว่างประเทศให้แก่กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา และเวียดนาม (CLMV) จำนวนไม่เกินปีละ ๘ ทุน ระยะเวลา ๓ ปี การประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษา โดย สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ ผ่านหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน (สภาหอการค้า และสภาอุตสาหกรรมแต่ละประเทศ) และสภาธุรกิจ ACMECS เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS
- ผลการดำเนินงาน ทุนดังกล่าวดำเนินงานในช่วงเดือนเมษายน ๒๕๕๘ – เดือนธันวาคม ๒๕๕๙ โดยใช้งบประมาณ ๑,๔๐๕,๙๓๒ บาท มีผู้รับทุนจำนวน ๔ ทุน จาก ๒ ประเทศ คือเมียนมา (๒ ทุน) และกัมพูชา (๒ ทุน)
การสนับสนุนทุน AITC
- หลักสูตร Integration of Sufficiency Economy for Empowerment on Mobilizing Sustainable Development (ม. นเรศวร) ซึ่งให้ priority กับ Lower Mekong Sub-region Member Countries)
- หลักสูตร Green Freight and Logistics Development (Mekong Institute) ซึ่งให้ priority กับ Greater Mekong Subregion Economic
- หลักสูตร Sufficiency Economy- From Theory and Practices to Standardization (ม. แม่ฟ้าหลวง) ซึ่งให้priority กับ ACMECS Member Countries
- หลักสูตร Postharvest Technology and Management for Reducing Loses of Agricultural Commodities (King Mongkut’s University of Technology Thonburi) สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV
- หลักสูตร Community - based Microcredit and Sufficiency Economy Development (Community Development Department, Ministry of Interior) ซึ่งให้ priority กับ ACMECS Member Countries
- หลักสูตร Promoting Livelihood and Food Security through Diversified Farming Practices using Integrated System and Participatory Approaches (ม. เชียงใหม่) ซึ่งให้ priority for ACMECS Member Countries
- หลักสูตร Green Freight and Logistics Development (Mekong Institute) ซึ่งให้ priority for ACMECS and BIMSTEC Member Countries
- หลักสูตร Sufficiency Economy Philosophy: Tool for Sustainable Rural Development (ม. แม่โจ้) สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV
- หลักสูตร Train the Trainer: Food Safety Management (National Food Institute, Ministry of Industry) สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV
- หลักสูตร Sufficiency Economy Philosophy: Tool for Sustainable Rural Development (ม. แม่โจ้) สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV
- หลักสูตร Early Childhood Health Promotion and Health Care Management
(ม. สงขลาฯ) ซึ่งให้ priority กับเมียนมา
- หลักสูตร Community Empowerment to Strengthen Maternal and Neonatal Health Care (ม. เชียงใหม่) ซึ่งให้ priority กับเมียนมา
ความร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
๑) สนับสนุนโครงการความร่วมมือภายใต้แผนแม่บท ACMECS (project by project)
๒) จัดตั้ง individual country fund และ
๓) สมทบเงินจัดตั้ง ACMECS Fund
การดำเนินการที่เกี่ยวข้อง
๑) อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือผู้แทน - ประธานคณะกรรมการ
๒) ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม - กรรมการ
๓) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข - กรรมการ
๔) ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กรรมการ
๕) ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - กรรมการ
๖) ผู้แทนกระทรวงพลังงาน - กรรมการ
๗) ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา - กรรมการ
๘) ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม - กรรมการ
๙) ผู้แทนสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม - กรรมการ
๑๐) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - กรรมการ
๑๑) ผู้แทนกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ - กรรมการ
๑๒) รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ - กรรมการและเลขานุการ
๑๓) ผู้แทนกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ - กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ACMECS กับสาขาความร่วมมือที่ Development Partners แสดงความสนใจ
* * * * * * * * * * * * * * * * *
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
พฤษภาคม ๒๕๖๓