ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย
ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย
โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในพื้นที่ในแอฟริกา
๑. แอฟริกาตะวันออก
๑.๑ เซเซลส์
โครงการความร่วมมือด้านพฤกษศาสตร์ (จะดำเนินโครงการต่อยอด)
แรกเริ่มเป็นกิจกรรมต่อยอดจากโครงการจัดตั้ง Thai Corner ในสวนพฤกษศาสตร์เซเซลส์ของ สอท. ณ กรุงไนโรบี ในปี ๒๕๕๖ ได้แก่ การสนับสนุนการจัดแสดงพันธุ์กลุ่มกล้วยไม้ เฟิร์นและพืชเขตร้อนในสวนพฤกษศาสตร์ฯ การจัดตั้งห้องปฏิบัติการการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและมอบวัสดุอุปกรณ์ และต่อมาได้ดำเนินการในลักษณะกิจกรรมตามคำขอของเซเซลส์ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๗ – ๒๕๖๒ เน้นด้านการฝึกอบรมและศึกษาดูงานให้แก่ส่วนพฤกษศาสตร์เซเซลส์ อาทิ การดูงานด้านพฤกษศาสตร์กับการจัดการทรัพยากชายฝั่งทและ และบริหารจัดการสวนพฤกษศาสตร์ สถานะล่าสุด ไทยพร้อมพิจารณาดำเนินโครงการต่อ โดยอยู่ระหว่างรอรับข้อเสนอโครงการอย่างเป็นทางการจากเซเซลส์ โดยเบื้องต้น ฝ่ายไทยเล็งเห็นประโยชน์ด้านการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านพฤกษศาสตร์ต่อไป โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์มะพร้าวแฝด (coco de mer) ซี่งไม่ใช่พันธุ์มะพร้าวท้องถิ่นของไทย และเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนไทยในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ในอนาคต เช่น ผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพและความงาม นอกจากนี้ กรมความร่วมมือฯ ขอให้ฝ่ายเซเชลส์ยืนยันความพร้อมที่จะร่วมโครงการฯ โดยเฉพาะความพร้อมที่จะร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่าย (cost-sharing) เนื่องจากเป็นประเทศอยู่ในกลุ่ม high-income โดยขอให้มีหนังสือแจ้งตอบเป็นทางการ
๑.๒ เคนยา
โครงการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระหว่างไทย – เคนยา (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
ดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๖๒ โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว อาทิ การนำผู้บริหารระดับสูง ระดับกลางและระดับปฏิบัติการของเคนยาดูงานในไทย โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุขเคนยา และผู้บริหารระดับกลาง ได้เข้าศึกษาดูงานด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ไทย ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๓๐ ส.ค ๒๕๖๒ การส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปให้คำแนะนำแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเคนยา/ การให้ทุนฝึกอบรมระยะสั้นแก่บุคลากรเคนยา สถานะล่าสุด ยังคงเหลือกิจกรรมภายใต้โครงการ ดังนี้ (๑) การให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและเอก ๓ ทุน ในหลักสูตร Health Technology Assessment (จะดำเนินการในปี ๒๕๖๔) และส่งผู้เชี่ยวชาญไทยไปปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนระบบ UHC ในเคนยา (จะดำเนินการภายในปี ๒๕๖๕)
๑.๓ บุรุนดี
โครงการจัดตั้งโรงงานขาเทียมให้แก่บุรุนดี (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
ดำเนินการระหว่างปี ๒๕๕๒ – ๒๕๕๔ กรมความร่วมมือฯ ร่วมกับมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดำเนินโครงการจัดตั้งโรงงานขาเทียมให้แก่บุรุนดี โดยมีจัดการฝึกอบรมการทำขาเทียมให้แก่ จนท.กห.และทหารผ่านศึกบุรุนดี/ จัดการดูงานด้านขาเทียมและการฝึกอาชีพ/ จัดซื้อเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ในการทำขาเทียมและจัดส่งให้แก่บุรุนดีรวม ๕๐๐ ขา/ จัดส่งผู้เชี่ยวชาญจากมูลนิธิขาเทียมฯ ไปติดตั้งเครื่องมือและให้คำแนะนำในช่วงแรกของการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการ
๑.๔ โมซัมบิก (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
๑.๔.๑ โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
กรมความร่วมมือฯ ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการ รว.ปี ๒๕๖๐ – ๒๕๖๓ ใน ๓ ตำบลในโมซัมบิก โดยมีการจัดตั้งศูนย์เพาะพันธุ์ปลานิลไทย – โมซัมบิก และก่อสร้างศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการฝึกอบรมและศึกษาดูงานของ จนท.รัฐระดับท้องถิ่น และส่งอาสาสมัครไปปฏิบัติงานในพื้นที่ (ด้านการเพาะเลี้ยงปลา/ ส่งเสริมการพัฒนาชุมชน/ เพาะปลูกข้าว)
๑.๔.๒ โครงการเพาะเลี้ยงปลานิลแดง (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
ดำเนินการระหว่างปี ๒๕๕๖ – ๒๕๕๙ โดยกรมความร่วมมือฯ จัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำแนะนำในการเพาะเลี้ยงปลานิลแดง จัดส่งพันธุ์ปลานิลแดงขนาดเล็กและลูกปลาขนาดกลาง รวมถึงจัดสรรทุนศึกษาระดับ ป.โทด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
๒. แอฟริกาตะวันตก
๒.๑ เซเนกัล
๒.๑.๑ โครงการจัดตั้งโรงเพาะพันธุ์ปลานิล (ดำเนินการแล้วเสร็จ และ สอท.ประสงค์ต่อยอดโครงการ)
กรมความร่วมมือฯ ได้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับ Agence Nationale del’Aquaculture (ANA) ของเซเนกัล มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งโรงเพาะพันธุ์ปลานิลในเซเนกัล รวมถึงการฝึกอบรมด้านการผลิตอาหารปลาและอนุบาลสัตว์น้ำ พื้นที่ดำเนินโครงการที่เมือง Ricard Tolls ฝ่ายไทยได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมประมงไปสำรวจพื้นที่/วางแผนการดำเนินโครงการ ได้แก่ (๑) การปรับปรุงอาคารสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (๒) การก่อสร้างบ่อพักน้ำเพื่อการระบายน้ำในโรงฟัก (๓) ปรับปรุงอาหคารและห้องปฏิบัติการ (๔) การติดตั้งวัสดุอุปกรณ์และมอบลูกพันธุ์ปลานิล จำนวน ๒,๐๐๐ ตัว ให้แก่เซเนกัล สถานะล่าสุด สอท.ประสงค์ต่อยอดโครงการและกรมความร่วมมือฯ อยู่ระหว่างการพิจารณา
๒.๑.๒ โครงการโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ (ดำเนินการแล้วเสร็จ และ สอท.ประสงค์ต่อยอด
โครงการ)
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง ผชช.ไปติดตั้งโรงอบแห้ง
พลังงานแสงอาทิตย์ ณ โบสถ์ St. Benoit de Keur Moussa ซึ่งมีการดำเนินการด้านการผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งส่ง ผชช.ไปดำเนินการฝึกอบรมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น การบำรุงรักษาโรงอบ การอบแห้งผลไม้ชนิดต่าง ๆ การบรรจุหีบห่อ เป็นต้น สถานะล่าสุด สอท. ณ กรุงเซเนกัล ประสงค์ดำเนินการต่อยอดโครงการ โดยกรมความร่วมมือฯ เห็นควรให้มีการ engage ภาครัฐเซเนกัลเข้าร่วมด้วย (เดิมเป็นโครงการที่โบสถ์) และออกแบบโครงการให้เกิดความยั่งยืน
๒.๑.๓ โครงการจัดตั้งโรงงานผลิตขาเทียมในเซเนกัล ระยะที่ ๒ (อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนิน
โครงการ)
กรมความร่วมมือฯ ได้สนับสนุนโครงการจัดตั้งโรงงานผลิตขาเทียม ตามคำขอของ สอท.
กรุงดาการ์ เพื่อฉลองครบรอบ ๓๐ ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับเซเนกัล ในปี ๒๕๕๕ โดยร่วมกับมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ อาทิ การจัดการฝึกอบรมและศึกษาดูงาน การให้ทุนศึกษาต่อระดับ ป.ตรี และจัดหาอุปกรณ์การผลิดขาเทียม ๕๐๐ ชุด การส่งผู้เชี่ยวชาญไปติดตั้งอุปกรณ์ผลิตขาเทียม สถานะล่าสุด สอท.ประสงค์ต่อยอดโครงการ โดยดำเนินการระหว่างปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๕ ในพื้นที่เดิม ได้แก่ รพ.ทหาร Ouakam กรุงดาการ์ โดยฝ่ายเซเนกัลประสงค์ขอรับเครื่องจักรผลิตขาเทียมชุดใหม่ทดแทนชุดเดิมที่ทรุดโทรม และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ และเมื่อวันที่ ๓๑ มี.ค. ๒๕๖๔ กรมความร่วมมือฯ ได้หารือกับฝ่ายเซเนกัลและ สอท. ณ กรุงดาการ์ เห็นพ้องจะเริ่มดำเนินกิจกรรมแรก คือ การจัดหาอุปกรณ์ และจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรภายในเดือน ก.ค. ๒๕๖๔
๒.๑.๔ โครงการหมู่บ้านนำร่องต้านมาลาเรียในเซเนกัล (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกับคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินโครงการหมู่บ้านนำร่องต้านมาลาเรียในสาธารณรัฐเซเนกัล ตามคำขอของเซเนกัล มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรคมาลาเรียโดยการกำจัดไข่ยุงและลูกน้ำในแหล่งน้ำสาธารณะ และได้มีการดำเนินการ ดังนี้ การสำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูลและศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินงานโครงการเมื่อปี ๒๕๕๓ การส่ง ผชช.ไปจัดการฝึกอบรมด้านการป้องกันมาลาเรียให้แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และชาวบ้านในหมู่บ้าน ๓ แห่ง ในปี ๒๕๕๕
๒.๑.๕ โครงการพัฒนาชุมชนยั่งยืนต้นแบบโดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิด Smallholder Horticulture Empowerment and Promotion (SHEP) ภายใต้กรอบ ครม.ไตรภาคี ไทย-ญี่ปุ่น-เซเนกัล (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
เป็นความร่วมมือไตรภาคีระหว่างไทย – ญีปุ่น (JICA) – เซเนกัล เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้ทำการคัดเลือกหมู่บ้าน Lompoul เป็นพื้นที่ดำเนินโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการผลิตผลิตผลทางการเกษตร (บนหลัก SEP) และพัฒนาเป็นชุมชนเกษตรยั่งยืน โดย ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนเป็นหน่วยดำเนินงาน และกรมพัฒนาชุมชนเป็นที่ปรึกษาโครงการ สถานะล่าสุด กรมความร่วมมือฯ JICA และ ผชช.ได้หารือถึงแนวทางในการสอดประสานระหว่างแนวคิด SEP กับ SHEP และการนำไปประยุกต์ใช้ในเซเนกัลในเบื้องต้นแล้ว
๒.๒ เบนิน
โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ สาธารณรัฐเบนิน (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
โครงการมีระยะเวลาตั้งแต่ปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๓) กรมความร่วมมือฯ ดำเนินการร่วมกับ ศปร. และฝ่ายเบนิน โดยได้คัดเลือกเมือง Djakotomey เป็นพื้นที่ดำเนินการ กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว ได้แก่ การส่งผู้เชี่ยวชาญไปสำรวจพื้นที่ การจัดฝึกอบรมด้าน SEP อาทิ ด้านการเพาะเห็ดโคน การทำปุ๋ยออร์แกนิก การทำเกษตรผสมผสาน การคัดเลือกเกษตรกรตัวอย่าง และการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน รวมถึงการส่งอาสาสมัครไปปฏิบัติงานในพื้นที่ สถานะล่าสุด สืบเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 กรมความร่วมมือฯ จึงเรียกอาสาสมัครกลับ และยังเหลือกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ ได้แก่ การอบรมด้านการแปรรูปอาหาร การขุดบ่อน้ำบาดาล การติดตั้งแผงโซลาร์เซลสในฟาร์มของเกษตรกร และการจัดพิธีเปิดศูนย์เรียนรู้ฯ อย่างเป็นทางการ
๓. แอฟริกาเหนือ
๓.๑ อียิปต์
โครงการปะการังเทียมในทะเลแดง (ดำเนินการแล้วเสร็จ)
ในปี ๒๕๕๒ กรมความร่วมมือฯ ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญจากกรมประมงไปสำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูล ณ สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ และในปีถัดมาได้เชิญผู้บริหารระดับสูงของ General Authority of Fish Resources Development (GAFRD) และคณะเข้าศึกษาดูงานด้านการทำปะการังเทียมที่ไทย โดยมีการเสนอแนะให้ใช้ปะการังเทียมรูปแบบของ SCG ซึ่งทำด้วยท่อพีวีซี
๓.๒ โมร็อกโก
โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในโมร็อกโกโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโรงอบแห้งพลังแสงอาทิตย์ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
กรมความร่วมมือฯ ร่วมกับ ม.ศิลปากรดำเนินโครงการระหว่างปี ๒๕๖๔ – ๒๕๖๖ พื้นที่โครงการเป็นชุมชนห่างจากเมืองการ์ราเกชประมาณ ๗๐ กม. โดยกิจกรรมจะประกอบด้วย การติดตั้งโรงอบแห้งฯ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของไทย และถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรท้องถิ่น (เทคโนโลยีโรงอบแห้งฯ เทคนิคการอบผลไม้ท้องถิ่น) การแนะนำเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตจากโรงอบแห้งฯ รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เทคโนโลยีในพื้นที่อื่น ๆ การพัฒนาเกษตรกรตัวอย่าง ผ่านการศึกษาดูงานที่ไทยและฝึกอบรม สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยกับฝ่ายโมร๊อกโกได้จัด กปช. Project Steering Committee ครั้งที่ ๑ (๑๐ พ.ย. ๖๓) โดยได้ข้อสรุปว่าจะส่งชิ้นส่วนโรงอบแห้งฯ ไปยังโมร็อกโกช่วงไตรมาสที่ ๒/๒๕๖๔ โดยผู้แทน ม.ศิลปากรจะไปติดตั้ง แต่หากสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวยก็จะพิจารณาใหฝ่ายโมร็อกโกดำเนินการติดตั้งผ่านการแนะนำจาก ผชช.ไทยทางออนไลน์
๔. แอฟริกาใต้
๔.๑ เลโซโท
โครงการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ณ ราชอาณาจักรเลโซโท ระยะที่ ๒ (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
กรมความร่วมมือฯ ร่วมกับ สนง.กปร.ดำเนินการ รว.ปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว ได้แก่ จัดทำแปลงสาธิตการเกษตรอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การคัดเลือกเกษตรกรตัวอย่าง การส่ง ผชช.ด้านการจัดการที่ดินและพืชสวนไปให้คำแนะนำ การจัดส่งอาสาสมัครไปปฏิบัติงานในพื้นที่ สถานะล่าสุด ฝ่ายไทยกับเลโซโทจะจัด กปช. Project Steering Committee (PSC) เพื่อหารือแนวทางการดำเนินการต่อไป