ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ประจำปี ๒๕๖๓

แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ประจำปี ๒๕๖๓

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 10,545 view

แผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ปี ๒๕๖๓

 

            ในการดำเนินความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศผู้รับต่าง ๆ ที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของไทย โดยหลักการจะมีการจัดทำแผนงานระยะ ๓ ปี เพื่อเป็นกรอบการวางแผน ติดตามและประเมินผล โดยกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้จัดกลุ่มสาขาที่ไทยได้ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ ออกเป็น ๔ ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม  ด้านการเผยแพร่หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และงานไตรภาคี

            การจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนากับประเทศผู้รับ แบ่งเป็น

            ๑) แผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ระยะ ๓ ปี ใน ๕ ประเทศ ได้แก่

                    ๑. กัมพูชา ขณะนี้อยู่ในช่วงปีสุดท้ายของแผนฯ  ฉบับที่ ๑ ๒๕๖๐-๒๕๖๓  (ขยายแผนถึง ๒๕๖๓) และอยู่ระหว่างการเตรียมการจัดทำแผน ระยะที่ ๒ (๒๕๖๔-๒๕๖๖)

                    ๒. สปป. ลาว ขณะนี้อยู่ระหว่างแผนฯ ฉบับที่ ๑  ๒๕๖๓-๒๕๖๕                                             

                    ๓. เมียนมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผนฯ ฉบับที่ ๑  ๒๕๖๓-๒๕๖๕  โดยได้เริ่ม   ดำเนินการบางกิจกรรมแล้ว

                    ๔. ภูฏาน ขณะนี้อยู่ระหว่างแผนฯ ฉบับที่ ๔  ๒๕๖๐-๒๕๖๒ (ขยายแผนถึง ๒๕๖๓)

                    ๕. ติมอร์-เลสเต ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำแผน ฉบับที่ ๕  ๒๕๖๓-๒๕๖๕

ก่อนข้อ2

            ๒) การจัดทำแผนกิจกรรมกับประเทศอื่น ๆ  เป็นไปตามผลการประชุมที่เกี่ยวข้องและนโยบายหรือข้อเสนอของประเทศผู้รับในช่วงเวลานั้น ๆ  อาทิ ภูมิภาคแอฟริกา  ศรีลังกา บังกลาเทศ (กำลังเสนอให้จัดทำแผน ๓ ปี)  มัลดีฟส์  และมองโกเลีย

            ในปี ๒๕๖๓ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศมีการดำเนินงานโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่อยู่ระหว่าง/ มีแผนจะดำเนินงานทั้งหมด ๑๔๘ โครงการโดยแบ่งเป็นโครงการด้านเศรษฐกิจ ๖๔ และโครงการด้านสังคม ๘๔ โครงการ

ก่อน2.1

 

๑. แผนการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสาขาการพัฒนาเศรษฐกิจ

            ในปี ๒๕๖๓  มีโครงการด้านเศรษฐกิจ ๖๔ โครงการ มีการดำเนินงานใน ๑๖ ประเทศ (เมียนมา สปป. ลาว กัมพูชา เวียดนาม ภูฏาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา เลโซโท โมร็อกโก ตองกา คีร์กิซ โมซัมบิก อาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย และเปรู) ด้านการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านวิสาหกิจชุมชน อุตสาหกรรม การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว และด้านการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ส่วนมากดำเนินการในเมียนมาและ สปป. ลาว

2.1.1

 2.1.2  

 

๒. แผนการดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสาขาการพัฒนาสังคม

            ในปี ๒๕๖๓ มีแผนโครงการด้านสังคม ๘๔ โครงการใน ๑๓ ประเทศ (กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ติมอร์-เลสเต มัลดีฟส์ ภูฏาน บังกลาเทศ ซูดาน และเคนยา) ในด้านสาธารณสุข การพัฒนาการศึกษา และการพัฒนาสังคม ตามที่ได้รับทำร่วมกันไว้กับหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนมากดำเนินการในกัมพูชาและ สปป. ลาว

2.2.1_1

2.2.1

 

๓. แผนงานโครงการด้านการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP)

            กรมความร่วมมือระหว่างประเทศยึดหลัก SEP เป็นแนวทางในการบริหารการดำเนินความช่วยเหลือของประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้โครงการนำไปสู่ผลที่เกิดความยั่งยืนและมีความสมดุลตามสภาพภูมิสังคมของบริบทแต่ละประเทศ อย่างไรก็ดี นับจากปี ๒๕๔๖ กรมความร่วมมือฯ มีบทบาทในการเผยแพร่หลัก SEP ในต่างประเทศ เพื่อสร้างคุณค่าและยกระดับบทบาทการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย โดยสร้างความยอมรับให้  SEP เป็นทางเลือกหนึ่งของการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงได้มีการดำเนินการเชิงรุกส่งเสริมโครงการที่มีการนำหลัก SEP ไปประยุกต์ใช้อย่างชัดเจนทั้งกระบวนการจัดทำโครงการ ทั้งในการวางแผน การกำหนดตัวชี้วัดและการประเมิน  ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีโครงการทั้งสิ้น ๓๒  โครงการ ใน ๒๑ ประเทศ  

 
            แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาใน ๒ รูปแบบ ได้แก่ (๑) การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (๒) การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนต้นแบบตามแนวทางการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 

ในปี ๒๕๖๓ มีแผนงานโครงการ SEP ที่อยู่ในแผนระยะ ๓ ปีกับประเทศต่าง ๆ และกับประเทศคู่ร่วมมืออื่นๆ ได้แก่ 

            ๑. การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ รวม 15 พื้นที่ ได้แก่ ในเมียนมา ๓ พื้นที่  สปป. ลาว ๕ พื้นที่  เวียดนาม ๑ พื้นที่  ฟิจิ ๒ พื้นที่  ติมอร์-เลสเต ๑ พื้นที่ โมซัมบิก ๒ พื้นที่  เลโซโท ๑ พื้นที่  

            ๒. การพัฒนาชุมชนต้นแบบ รวม 28 พื้นที่ ได้แก่ เมียนมา ๗ พื้นที่ สปป. ลาว ๑ พื้นที่ เวียดนาม ๒ พื้นที่ ภูฏาน ๗ พื้นที่ ศรีลังกา ๓ พื้นที่  ฟิลิปปินส์ ๑ พื้นที่  บังกลาเทศ ๑ พื้นที่ หมู่เกาะโซโลมอน ๓ พื้นที่ เบนิน ๑ พื้นที่ วานูอาตู ๑ พื้นที่ เซเนกัล ๑ พื้นที่

 

2.3.1
2.3.2

2.3.3

2.3.4

๔. แผนงานโครงการความร่วมมือไตรภาคี

            ในปี ๒๕๖๓ มีแผนความร่วมมือไตรภาคีกับประเทศคู่ร่วมมือ กล่าวคือ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ชิลี เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส สวีเดน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และ EU ในสาขาเกษตร การค้า การท่องเที่ยว การพัฒนาฝีมือแรงงาน สาธารณสุข การพัฒนาชุมชน SEP และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยดำเนินงานในประเทศเป้าหมายคือ กัมพูชา เมียนมา สปป. ลาว เวียดนาม มองโกเลีย ปาเลสไตน์ เซเนกัล และในกรอบความร่วมมือภูมิภาค คือ ASEAN และ ACMECS

2.4.1

2.4.2