ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

ข้อมูลความร่วมมือเพื่อการพัฒนาของไทย

มูลค่าภาพรวม ODA ประจำปี ๒๕๖๑ ผ่าน TICA

มูลค่าภาพรวม ODA ประจำปี ๒๕๖๑ ผ่าน TICA

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ส.ค. 2563

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 20,381 view

 ภาพรวมมูลค่าความร่วมมือเพื่อการพัฒนาให้แก่ต่างประเทศโดย TICA  

 

            ปี ๒๕๖๑ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศต่าง ๆ ๔๙๙.๑๐ ล้านบาท ทั่วโลก โดยประเภทความร่วมมือ ใน ๕ อันดับแรก ได้แก่

            ๑. ความร่วมมือทวิภาคี Bilateral Cooperation จำนวน ๓๔๕.๑๑ ล้านบาท

            ๒. ทุน AITC จำนวน ๙๐.๘๖ ล้านบาท

            ๓. ทุน TIPP จำนวน ๒๘.๘๗ ล้านบาท

            ๔. Trilateral Cooperation จำนวน ๒๒.๐๕ ล้านบาท

            ๕. กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาค/อนุภูมิภาค (Cooperation under Framework) จำนวน ๑๐.๕๑ ล้านบาท

ภาพรวม_ODAผ่าน_TICA_๒๐๐๔๑๙_0007

            ในปี ๒๕๖๑ กรมความร่วมมือฯ ดำเนินงานในรูปแบบโครงการใน ๔ ภูมิภาคทั่วโลก จำนวน ๗๙ โครงการ ใน ๑๕ ประเทศ มูลค่า ในปี ๒๕๖๑ คิดเป็นมูลค่า  ๓๔๕.๑๑ ล้านบาท

            ในปี ๒๕๖๑ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยสาขาความร่วมมือ ใน ๕ อันดับแรก ได้แก่

            ๑. Education จำนวน ๑๒๗.๔๒ ล้านบาท

            ๒. Public Health จำนวน ๑๐๕.๔๔ ล้านบาท

            ๓. Agriculture จำนวน ๕๖.๔๑ ล้านบาท

            ๔. Social Development & Welfare จำนวน ๓๘.๒๖ ล้านบาท

            ๕. Natural Resources & Environment จำนวน ๓๒.๓๖ ล้านบาท

ภาพรวม_ODAผ่าน_TICA_๒๐๐๔๑๙_0006

            ในปี ๒๕๖๑ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้ให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  พื้นที่/ ภูมิภาคที่ไทยเข้าไปดำเนินงานความร่วมมือ   มูลค่าการให้ความร่วมมือใน ๕ อันดับแรกคือ

            ๑. CLMV (๒๗๐.๖๖ ล้านบาท)

            ๒. กลุ่มประเทศเอเชียใต้และตะวันออกกลาง (ภูฏาน บังกลาเทศ ศรีลังกา เนปาล) (๘๒.๗๒ ล้านบาท)

            ๓. กลุ่มประเทศแอฟริกา (โมซัมบิก เลโซโท เบนิน เคนยา) (๕๙.๗๙ ล้านบาท)

            ๔. กลุ่มประเทศอื่น ๆ (๒๖.๓๙  ล้านบาท) และ

            ๕. กลุ่มประเทศลาตินอเมริกา (ฟิจิ อาร์เจนตินา ชิลี เปรู โคอมเบีย เม็กซิโก) (๑๙.๑๑ ล้านบาท)

51

            นอกจากการให้ความร่วมมือกับประเทศคู่ร่วมมือแล้ว การดำเนินงานของไทยได้ตอบโจทย์การให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในกรอบอนุภาค/ภูมิภาค อาทิ กรอบ ASEAN ACMECS GMS IMT-GT CICA FEALAC รวมถึงกรอบพหุภาคีภายใต้หน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติ

            มูลค่าการให้ความร่วมมือรายประเทศใน ๕ อันดับแรก ได้แก่

            ๑. กัมพูชา จำนวน ๑๓๑.๙ ล้านบาท

            ๒. สปป.ลาว จำนวน ๖๕.๗ ล้านบาท

            ๓. เมียนมา จำนวน ๕๙.๓ ล้านบาท

            ๔. ภูฏาน จำนวน ๕๒.๔ ล้านบาท

            ๕. เวียดนาม จำนวน ๑๓.๘ ล้านบาท

ภาพรวม_ODAผ่าน_TICA_๒๐๐๔๑๙_0005

            ในปี ๒๕๖๑ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้มอบเงินอุดหนุนที่มอบให้องค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ จำนวน ๓๒.๘๗ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๖.๗๙%  ของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่กรมความร่วมมือฯ ให้แก่ต่างประเทศ โดยมูลค่าสูงสุด ๓ อันดับแรกได้แก่

            ๑. UNDP จำนวน ๑๕.๔๖ ล้านบาท

            ๒. Fulbright จำนวน ๑๕.๐๐ ล้านบาท

            ๓. IAEA จำนวน ๐.๙๙ ล้านบาท

ภาพรวม_ODAผ่าน_TICA_๒๐๐๔๑๙_0004

            ความร่วมมือในแบบไตรภาคี : เป็นโครงการไตรภาคีร่วมกับหุ้นส่วนความร่วมมือต่าง ๆ ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศที่มัระดับการพัฒนาระดับเดียวกับไทย รวมทั้งองค์การระหว่างประเทศ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศ/กลุ่มประเทศ บนพื้นฐานร่วมกันรับผิดชอบในด้านงบประมาณ ผู้เชี่ยวชาญ ปัจจุบันมีประเทศหุ้นส่วน ในลักษณะนี้ร่วมกับไทย จำนวน ๑๕ ประเทศซึ่งมีความตกลงร่วมกัน (สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อาร์เจนตินา บราซิล ชิลี อิสราเอล ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เยอรมนี ฝรั่งเศส สวีเดน ลักเซมเบิร์ก ออสเตรเลีย ฮังการี และเกาหลีใต้) และ ๑๓ องค์กร (๘ โครงการ และ ๒๙๘ ทุน) อีกทั้งมีประเทศคู่ร่วมมือที่ไม่มีความตกลงที่สนใจดำเนินโครงการร่วมกัน อาทิ ลักเซมเบิร์กและสวิตเซอร์แลนด์

52.1

52.2

52.3